ประวัติและที่ตั้ง

ภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 1.ด้านกายภาพ

1.1ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชน หรือตำบล

                     องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม ตั้งอยู่เลขที่ 139 หมู่ที่ 8 บ้านใหม่พัฒนา ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ทางตอนใต้ของอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนสภาพพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง เนินเขาและมีภูเขาสูงสลับซับซ้อน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขตป่าอนุรักษ์แม่ยวมฝั่งขวา มีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูกประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 20% การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ มี 3 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำยวม ได้แก่ บ้านท่าผาปุ้ม บ้านแม่เตี๋ย และบ้านใหม่พัฒนา ส่วนหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนภูเขาและระหว่างหุบเขา ได้แก่ บ้านแม่สะกึ๊ด หย่อมบ้านแม่กวางใต้ บ้านห้วยผึ้ง หย่อมบ้านแม่ปอถ่า หย่อมบ้านสามหมอก หย่อมบ้านกิ่ว บ้านห้วยหมากหนุน หย่อมบ้านขุนแม่เตี๋ย หย่อมบ้านแม่เตี๋ยน้อย หย่อมบ้านห้วยกองข่อ บ้านแม่สะกั๊วะ หย่อมบ้านแม่กองแป และบ้านแม่กวางเหนือ ซึ่งบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ การสร้างบ้านต้องมีการปรับพื้นที่ให้ราบพอที่สร้างบ้านได้เนื่องจากอยู่บนภูเขาสูงชัน บริเวณบ้านจะเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์เลี้ยง เช่น หมูดำ ไก่ เป็ดสุนัข ส่วนวัวควายจะปล่อยให้หากินอยู่ในป่า ประมาณ 15-20 วันจึงจะมีการต้อนกลับบ้าน บริเวณบ้านจะปลูกพืชที่มีรากหน้าดินเพื่อป้องกันดินถล่ม พร้อมทั้งมีการปลูกพืชที่เป็นอาหาร ส่วนบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้าน จะเป็นพื้นลุ่มซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก อยู่บริเวณใกล้ลำห้วยหรือลำธารจะเป็นพื้นที่ทำนาข้าว (เป็นนาขั้นบันใด)สามารถทำนาได้ทุกปี ส่วนพื้นที่ภูเขาจะปลูกข้าวไร่(ไร่หมุนเวียน ซึ่งไม่สามารถทำซ้ำได้ โดยต้องรอประมาณ 6-7 ปี จึงจะกลับมาทำอีกครั้งหนึ่ง) ลำน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำยวม,ลำห้วยแม่กุจอ และลำห้วยแม่สะเรียง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใช้ในการทำการเกษตร ชุมชนหลักที่ใหญ่ที่สุดของตำบลได้แก่ หมู่ที่ 5 บ้านแม่เตี๋ยชุมชนใหญ่มีประชากรประมาณ 899 คน และชุมชนขนาดเล็กที่สุดได้แก่ หมู่ที่ 7บ้านแม่กวางเหนือ มีประชากรประมาณ 136 คน

1.2  ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม เป็นพื้นที่สูง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าอนุรักษ์แม่ยวมฝั่งขวา  มีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูกประมาณ  ¼   ของพื้นที่ทั้งหมด ลำน้ำ ที่สำคัญ คือ แม่น้ำยวม ,ลำห้วยแม่กุจอ และลำห้วยแม่สะเรียง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใช้ในการทำการเกษตร

ทิศเหนือ         ติดต่อกับตำบลแม่ลาน้อย        อำเภอแม่ลาน้อย     จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลบ้านกาศ         อำเภอแม่สะเรียง      จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับตำบลป่าแป๋            อำเภอแม่ลาน้อย      จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับตำบลบ้านกาศ          อำเภอแม่ลาน้อย       จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 แผนที่

1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

  • ตำบลท่าผาปุ้มตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ลาน้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นจังหวัดที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นโดยในฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัด และอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว และฝนจะตกชุกในฤดูฝนนอกจากนี้มีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปีทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาสูงมีพื้นที่อยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้มีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวันเนื่องจากถูกแสงแดดส่วนในตอนกลางคืนจะได้รับอิทธิพลจากลมภูเขาทำให้อากาศเย็นลงอย่างรวดเร็วซึ่งเมื่อความร้อนในตอนกลางวันลอยตัวขึ้นปะทะกับความชื้นของอากาศจึงทำให้เกิดหมอกปกคลุมโดยทั่วไปในตอนกลางคืนสภาพภูมิอากาศจะมีความแตกต่างกัน อย่างชัดเจนทั้ง 3 ฤดูกาล

ฤดูร้อน      เริ่มตั้งแต่ช่วงระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคมจะมีอากาศร้อนอบอ้าว

ฤดูฝน       เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคมจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ทำให้อากาศชุ่มชื้นฝนจะตกชุกมากซึ่งจะมีปริมาณมากที่สุดในเดือนสิงหาคม

  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

  • และความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอากาศจะหนาวเย็นมาก

          1.4  ลักษณะของแหล่งน้ำ

        ลำน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำยวม ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอขุนยวม ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใช้ในการทำการเกษตรของ 3หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำยวม ได้แก่ บ้านท่าผาปุ้ม บ้านแม่เตี๋ย และบ้านใหม่พัฒนาส่วนแหล่งน้ำ อุปโภคบริโภคที่สำคัญบนพื้นที่สูง คือ ลำห้วยแม่กุจอ ห้วยแม่กวางใต้ ห้วยแม่กวางเหนือ ห้วยแม่สะเรียง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญในการดำรงค์ชีวิตของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนภูเขาและระหว่างหุบเขา ได้แก่ บ้านแม่สะกึ๊ด หย่อมบ้านแม่กวางใต้ บ้านห้วยผึ้ง หย่อมบ้านแม่ปอถ่า หย่อมบ้านสามหมอก หย่อมบ้านกิ่ว บ้านห้วยหมากหนุน หย่อมบ้านขุนแม่เตี๋ย หย่อมบ้านแม่เตี๋ยน้อย หย่อมบ้านห้วยกองข่อ บ้านแม่สะกั๊วะ หย่อมบ้านแม่กองแป และบ้านแม่กวางเหนือ

1.5  ลักษณะของไม้และป่าไม้

  • ด้วยภูมิประเทศของตำบลท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอนที่มีความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง ประมาณตั้งแต่ 300 – 1,000 เมตร ประเภทของป่าไม้ที่พบในพื้นที่ จึงมีทั้งป่าชนิดไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา และ ป่าสน บ้านห้วยผึ้งหมู่ที่2 บ้านแม่กวางใต้ หมู่ที่ 1 และบ้านแม่กวางเหนือ หมู่ที่ 7 และป่าชนิดผลัดใบ ได้แก่ ป่าผสมเบญจพรรณ และป่าเต็ง-รัง นอกจากนี้ยังพบป่าไร่ร้างและป่าไร่เลื่อน ลอย พืชพันธุ์ไม้ในป่าส่วนใหญ่เป็นไม้มีค่า เช่น ไม้สัก ไม้เต็งรัง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัง ไม้มะค่าโมง ไม้รกฟ้า ไม้ ยมหอม ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหนู ไม้เต็ง ไม้รัง ยางเหียง ไม้พลวง ไม้ตะแบก ฯลฯ

  • พืชพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ ไม้ไผ่ ผักหวานป่า ต้นคราม ผักกูด ผักกูดดอย ผักพ่อค้า ดอกอาว (กระเจียว) สาบแล แคป่า เพกา ปู่ย่า ผักแว่น ผักหนาม ผักเฮือด ผ่า เพียฟาน ฟักข้าว มันปลา (มันปู) เตา (สาหร่ายน้ำจืด) อ่องลอด (ดอกหิน) สมอไทย มะขามป้อม พืชพันธุ์ไม้เฉพาะ มีผักส้มปี้ (หัวแหวน) ผักหนามโค้ง (หมากลม) ดอกดิน เป็นต้น

  1. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

      ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม  มีทั้งหมด  8  หมู่บ้าน

หมู่ที่    1        บ้านแม่สะกึ๊ด    (หย่อมบ้านแม่กวางใต้)
หมู่ที่    2        บ้านห้วยผึ้ง    (หย่อมบ้านสามหมอก  บ้านกิ่ว   บ้านแม่ปอถ่า)
หมู่ที่    3        บ้านห้วยหมากหนุน  (หย่อมบ้านขุนแม่เตี๋ยน้อย บ้านห้วยกองข่อ)
หมู่ที่    4        บ้านท่าผาปุ้ม
หมู่ที่    5        บ้านแม่เตี๋ย
หมู่ที่    6        บ้านแม่สะกั๊วะ  (หย่อมบ้านแม่กองแป)
หมู่ที่    7        บ้านแม่กวางเหนือ
หมู่ที่    8        บ้านใหม่พัฒนา

 

ผู้นำท้องที่(ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และอื่นๆ)

table

ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายก อบต./ เทศบาล สมาชิก อบต.)

table2

2.2 การเลือกตั้ง

table3table4

 

จากตารางกิจกรรมของชุมชนที่ได้เข้าร่วมของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ๓ อันดับแรกคือการใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จำนวน 815 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 98.91 รองลงมาคือร่วมทำประชาพิจารณ์/ร่วมเวทีประชาคม/ร่วมประชุมหมู่บ้าน จำนวน 145 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17.16 และอันดับที่ 3 คือร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง จำนวน 91 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 11. กิจสรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีการร่วมกิจกรรมของชุมชนการใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามากที่สุด

 

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
๓.๒.๑ข้อมูลด้านประชากร สำนักงานทะเบียนอำเภอแม่ลาน้อย ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2558

table5

..ประชากรจาการสำรวจ และการทำฐานข้อมูลตำบล TCNAP ของ อบต.ท่าผาปุ้มพ.ศ.๒๕๕๘

table6

table7

จากตารางที่ 4.1 จำนวนและร้อยละของประชากรสูงอายุจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือมากสุดช่วงอายุระหว่าง60-69จำนวน 204คิดเป็นร้อยละ 3.24รองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง70-79จำนวน104คิดเป็นร้อยละ 3.24และช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไปจำนวน 60คิดเป็นร้อยละ1.87สรุปได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม ประชากรสูงอายุมากคือช่วงอายุระหว่าง 60 -69 ปีรองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง 60 – 69 ปี และประชากรสูงอายุน้อยคือช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป

table8

tabe10

จากการสำรวจข้อมูลประชากรในตำบลท่าผาปุ้มทั้งหมด 3,206 คน
เป็น ชาย จำนวน 1,606 คน  เป็นหญิง จำนวน 1,600 คน
จะเห็นได้ว่า เพศชายจะมีมากกว่าเพศหญิง

 4. ภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา                           จำนวน           1        แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส)         จำนวน           1        แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                              จำนวน           4        แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน             จำนวน           5        แห่ง

table11

table12

๔.๒สถานการศึกษาของประชากรตำบลท่าผาปุ้ม สำรวจช่วงปี พ.ศ.2558

จากการสำรวจประชากรในตำบลท่าผาปุ้ม จำนวน 3,187 คน สถานทางการศึกษาของคนในตำบลท่าผาปุ้มดังนี้

ผู้ไม่ได้เรียนหนังสือในตำบลท่าผาปุ้มมีจำนวน 726 คน

ผู้กำลังศึกษาอยู่แบ่งตามช่วงชั้นดังนี้

 

table13

๔.๒.๓ ผู้สำเร็จการศึกษาอยู่แบ่งตามช่วงชั้นดังนี้ (สำรวจช่วงปี พ.ศ.2558)

table14

. 4.2  สาธารณสุข

สถานีอนามัยประจำตำบล                        จำนวน           1        แห่ง
ศูนย์ สมช.                                           จำนวน           1        แห่ง
สมาชิก อสม.                                        จำนวน           8        หมู่บ้าน    76 คน
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าผาปุ้ม    จำนวน           1        แห่ง

 ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วย ของประชากรตำบลท่าผาปุ้ม

table15

จากตารางปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วย ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ไข้ ไอ เจ็บคอ  จำนวน 752 คิดเป็นร้อยละ 60.21 รองลงมาคือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จำนวน 583 คิดเป็นร้อยละ 46.68 และกระเพาะอาหาร จำนวน 211 คิดเป็นร้อยละ 16.89 สรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีปัญหาสุขภาพจากอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มากที่สุด ตต

ารางที่แสดง ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาของประชากรตำบลท่าผาปุ้ม(สำรวจจากประชากร 3,194 คน ช่วงปี พ.ศ.2558)

 

table16

 

table17

จากตาราง ปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อย 5 อันดับ ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือไข้ ,หวัด จำนวน 1,581 คน คิดเป็นร้อยละ 44.78 รองลงมาคือโรคกระเพาะอาหาร จำนวน 775 คน คิดเป็นร้อยละ 21.95และโรคปวดเมื่อกล้ามเนื้อ จำนวน 594 คน คิดเป็นร้อยละ16.82สรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีปัญหาสุขภาพและโรค

 

ปัญหาโรคเรื้อรังในพื้นที่ตำบลท่าผาปุ้ม  (สำรวจช่วงปี พ.ศ.2558)

table18

จากตารางแสดงปัญหาโรคเรื้อรังในพื้นที่ ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือความดันโลหิตสูง จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 35.42 รองลงมาคือปวดข้อหรือข้อเสื่อม จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ25.83 และเบาหวาน จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 11.62 สรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีปัญหาโรคเรื้อรังในพื้นที่คือความดันโลหิตสูงมากที่สุด

4.3 อาชญากรรม

   เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวตำบลท่าผาปุ้มอยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มเย็น สงบ ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเป็นมิตร ปัญหาการเสียชีวิตจากสาเหตุอาชญากรรมในพื้นที่จึงไม่มี

ตารางแสดง สถิติการเกิดและตายประชากรตำบลท่าผาปุ้ม (สำรวจช่วงปี พ.ศ.2558)

table19

จากตารางที่ 4.2 สถิติการเกิดและตาย ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม มีเด็กเกิดใหม่ (ชาย-หญิง) ในรอบ 1 ปี รวมจำนวน 37 รายคิดเป็นร้อยละ 74 ผู้เสียชีวิตในรอบ 1 ปี(ชาย-หญิง) รวมจำนวน 13 รายคิดเป็นร้อยละ 26 สาเหตุการเสียชีวิตชรา (ชาย- หญิง) จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.53

 

4.4

ยาเสพติดเนื่องจากวิถีชีวิตของชาวตำบลท่าผาปุ้มอยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มเย็น สงบ ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเป็นมิตร ปัญหาการเสียชีวิตจากสาเหตุอาชญากรรมและปัญหายาเสพติด ให้โทษ ที่ผิดกฎหมายในพื้นที่จึงไม่มี จะมีเพียงเรื่องความเสียงจากพฤติกรรมเสียงจากวิถีการอยู่การกินในชีวิตประจำวันเท่านั้น

ตารางแสดง พฤติกรรมเสี่ยงประชากรตำบลท่าผาปุ้ม  (สำรวจช่วงปี พ.ศ.2558)

table20

table21จากตารางแสดง พฤติกรรมเสี่ยง ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือดื่มสุราเป็นประจำ จำนวน 446 คน คิดเป็นร้อยละ 85 รองลงมาคือกินอาหารสุก ๆ ดิบๆ จำนวน 432 คนคิดเป็นร้อยละ 31.56 และกินอาหารรสจัด เป็นประจำทุกวัน จำนวน 392 คน คิดเป็นร้อยละ 28.63 สรุปผลได้ว่าท่าผาปุ้มมีพฤติกรรมเสี่ยงคือดื่มสุราเป็นประจำมากที่สุด

 

4.5 การสังคมสงเคราะห์

มีการจัดสวัสดิการ สงเคราะห์
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเออส์ ตามภารกิจหน้าที่แล้ว ยังมีการดำเนินโครงการสงเคราะห์ต่างๆผ่านทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าผาปุ้ม เช่นโครงการเยี่ยม ดูแลผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สวัสดิการการดูแลเด็กและเยาวชนผ่านกินกรรมโครงการต่างๆ สวัสดิการและ การสงเคราะห์ต่างๆผ่านทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าผาปุ้มแล้วยังมีกองทุนสวัสดิการชุมชน ที่ให้สวัสดิการสมาชิกในเรื่องของการดูแลยามเจ็บป่วยรักษาพยาบาล ตรวจสุขภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้ร่วมกับหน่วยงานต่างเช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และบ้านเทิดไท้องค์ราชันร่วมกับกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นอีกด้วย

 

5. ระบบบริการพื้นฐาน

1 การคมนาคมขนส่ง

ถนนสายแม่สะเรียง–แม่ฮ่องสอน (หมายเลข  108) เป็นถนนสายหลักที่ใช้ติดต่อกับจังหวัดและอำเภอ
ถนนที่ใช้ติดต่อเชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่างๆได้แก่
–  ถนนสาย 108
–  ถนนสาย 1266

5.2  การไฟฟ้า

–  พื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้มมีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ครบทั้ง ๘ หมู่บ้าน และมีหมู่บ้านที่ยังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(โซล่าเซล) 4 แห่ง คือ

  • หมู่ที่ 3 หย่อมบ้านขุนแม่เตี๋ย ,หย่อมบ้านแม่เตี๋ยน้อยและหย่อมบ้านห้วยกองข่อ

  • หมู่ที่ 6 หย่อมบ้านแม่กองแป

5.3  การประปา

                   –  ประปาหมู่บ้าน         จำนวน       2        แห่ง

                   –  ประปาภูเขา            จำนวน      7        แห่ง( 5 หมู่บ้านหลักและ 9 หย่อมบ้านบนพื้นที่สูง)

                   –  สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน           2        แห่ง

5.4  โทรศัพท์

–  มีตู้โทรศัพท์สาธารณะทางไกลระบบดาวเทียม  5  หมู่บ้าน
– มีสัญญาณโทรศัพท์ที่ใช้การได้ดีเฉพาะ 3 หมู่บ้านพื้นราบ ส่วน ๕ หมู่บ้านบนพื้นที่สูงมีมีสัญญาณโทรศัพท์พอใช้การได้บางจุดเท่านั้น

5.5  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และพัสดุ ครุภัณฑ์มีที่ทำการไปรษณีย์ ที่ตัวอำเภอแม่ลาน้อย ๑ แห่งห่างจากที่ทำการ อบต.ท่าผาปุ้ม ๙ กิโลเมตร

 

  1. ระบบเศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพของประชาชนในตำบลท่าผาปุ้ม โดยการจำแนกตามการประกอบอาชีพสภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลท่าผาปุ้มเป็นพื้นที่ชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำการเกษตรเป็นหลัก แบ่งเป็นทำนา 678 คน คิดเป็น 40.84%เนื่องจากมีพื้นทำนาในพื้นที่ราบ และพื้นที่สูงจะทำข้าวไร่ รองลงมาการทำไร่จำนวน 678 คน คิดเป็น 20.84% เป็นการทำไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง  ถั่วแดง  และ ในพื้นที่ของตำบลท่าผาปุ้มมีโรงงานปลาทู โรงงานรับซื้อผลิตผลทางการเกษตรจำนวน 2 โรง มีผู้ประกอยอาชีพรับจ้างทั่วไป/บริการ จำนวน 294 คิดเป็น  17.71%

ตารางที่ 3 แสดงประชากรกลุ่มเป้าหมาย การประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย การประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร

รายละเอียด

จำนวนประชากร

ร้อยละ

ว่างงาน/ไม่มีงานทำ

96

4.58

ทำนา

678

40.84

ทำไร่

346

20.84

ทำสวน

63

3.8

เลี้ยงสัตว์

8

0.48

ทำประมง

0

0.00

รับจ้างทั่วไป/บริการ

294

17.71

กรรมกร

5

0.3

ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

37

2.23

อุตสาหกรรมในครัวเรือน

1

0.06

ข้าราชการ

57

3.43

รัฐวิสาหกิจ

7

0.42

พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน

105

6.33

อื่นๆ (ระบุ)

59

3.55

รวม

2,725

100

 

ตารางที่ 4 แสดงประชากรการประกอบอาชีพหลัก

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย การประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร

รายละเอียด

จำนวนประชากร

ร้อยละ

ทำงานบ้าน

45

2.15

นักเรียน/นักศึกษา

248

11.83

ไม่เข้าข่าย

48

2.29

รวม

351

16.27

 

 

อาชีพหลัก

ข้อมูลการประกอบอาชีพ

จำนวน

ร้อยละ

อาชีพหลัก

 

 

1.1 ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน

 

 

          ว่างงาน/ ไม่มีงานทำ

222

6.94

          มีงานทำ

2,238

70

ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน

373

23.05

รวม

3,197

100

1.2 ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน

          ทำงานบ้าน

52

7.06

          นักเรียนนักศึกษา

517

70.15

          ไม่เข้าข่าย

168

22.8

รวม

737

100

อาชีพหลัก ได้แก่

 

 

          2.1 ทำนา

840

37.53

          2.2 ทำไร่

406

18.14

          2.3 ทำสวน

83

3.71

          2.4 เลี้ยงสัตว์

18

0.8

          2.5 ทำประมง

1

0.04

          2.6 รับจ้างทั่วไป/บริการ

331

14.79

          2.7 กรรมกร

6

0.27

          2.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

47

2.1

          2.9 อุตสาหกรรมในครัวเรือน

3

0.13

          2.10 รับราชการ

62

2.77

          2.11 รัฐวิสาหกิจ

9

0.4

          2.12 พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน

106

4.74

          2.13 อื่นๆ

326

14.57

รวม

2,238

100

 

จากตารางอาชีพหลักโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ พบว่าอาชีพหลักของประชาชนในตำบล.ท่าผาปุ้มมากที่สุดคือทำนา จำนวน 840 คนคิดเป็นร้อยละ 37.53 รองลงมาคือทำไร่จำนวน 406 คน คิดเป็นร้อยละ 18.14 และรับจ้างทั่วไป/บริการ จำนวน 331 คน คิดเป็นร้อยละ14.79สรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีอาชีพหลักทำนามากที่สุด

อาชีพเสริม

table23

จากตารางที่อาชีพเสริมเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3  อันดับแรก คือไม่เข้าข่าย จำนวน 591 คน คิดเป็นร้อยละ 29.1 รองลงมาคือทำไร่ จำนวน 417 คิดเป็นร้อยละ 20.53 และรับจ้างหรือบริการ จำนวน 370 คิดเป็นร้อยละ 18.22สรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีอาชีพเสริมไม่เข้าข่ายมากที่สุด

 

ประเภทการผลิต

table24

จากตาราง ประเภทการผลิต ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย  ๓ อันดับแรก คือทำนา จำนวน 327 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาคือทำไร่ จำนวน 182 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 22 และทำสวน จำนวน 133 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 16 สรุปผลได้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของตำบลท่าผาปุ้มประกอบอาชีพทำนามากที่สุด

ภาระหนี้สินของครัวเรือน

ภาระหนี้สินของครัวเรือน จำนวน ร้อยละ
ไม่มีหนี้สิน 313 36.02
มีหนี้สิน 556 63.98
รวม 869 100
2.1 ร้อยละหนี้สิน ( บาท)
น้อยกว่า 40,000 บาท 303 56.95
40,001 บาท ถึง 80,000 บาท 123 23.12
80,001 บาท ถึง 120,000 บาท 50 9.4
120,001 บาท ถึง 200,000 บาท 25 4.7
มากกว่า 200,001 บาท 31 5.83
รวม 532 100
ค่าเฉลี่ย (Mean)= ……..บาท ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = ……..
ตำสุด = 2,000.00  สูงสุด=  10,000,000.00

จากตาราง ภาระหนี้สินของครัวเรือน ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้มโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือน้อยกว่า 40,000 บาท จำนวน 303 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 56.95 รองลงมาคือ40,001 บาท ถึง 80,000 บาท จำนวน 123 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 23.12 และ 80,001 บาท ถึง 120,000 บาท จำนวน 50 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 9.4 สรุปผลได้ว่าภาระหนี้สินของครัวเรือนน้อยกว่า 40,000 บาทมากที่สุด

ตาราง สาเหตุภาระหนี้สินของครัวเรือน

ภาระหนี้สินของครัวเรือน จำนวน ร้อยละ
2.2 สาเหตุภาระหนี้สิน    
1. การทำการเกษตร 421 75.72
2. การศึกษาบุตร 225 40.47
3. ซื้อยานพาหนะ 92 17.09
4. ซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก 48 8.63
5. ซื้อโทรศัพท์มือถือ 22 3.96
6. ซื้ออสังหาริมทรัพย์/สร้างบ้าน/ซื้อที่ดินทำกิน 62 11.15
7. การเจ็บป่วย 121 21.76
8. ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร 202 36.33
9. ลงทุนในการทำธุรกิจ 6 5.22
10. การเล่นหวยหรือการพนัน 1 1.08
11. ส่งสมาชิกในครัวเรือนไปต่างประเทศระบุเหตุผล 0 0.18
12.อื่นๆ เช่น งานสังคม, จัดงานแต่งลูกชาย, จัดงานทำบุญ, สหกรณ์ออม ทรัพย์ครู

จากตาราง สาเหตุภาระหนี้สินของครัวเรือน ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือการทำการเกษตร จำนวน 421 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 75.72 รองลงมาคือการศึกษาบุตร จำนวน 225 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ40.47 และอันดับที่ 3 คือค่าใช้จ่ายด้านอาการ คิดเป็นร้อยละ 202สรุปผลได้ว่าภาระหนี้สินของครัวเรือนประชาชนตำบลท่าผาปุ้มคือการทำการเกษตรมากที่สุด

 

 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ผังแสดงองค์กรชุมชน การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพตำบลท่าผาปุ้ม

table30

 

  1. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น
    7.1  ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

    ทุนที่เป็นกลุ่ม / เครือข่าย / ศูนย์เรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้

ที่

ชื่อกลุ่ม /เครือข่าย / ศูนย์เรียนรู้ /

แหล่งเรียนรู้

หมู่ / ชุมชน

แกนนำ

กิจกรรม

1

กลุ่มทอผ้า

1

นางอำพร         รวียืนยง

ผ้าทอกะเหรี่ยง

2

กลุ่มเกษตรกรปลูกเสาวรส

1

นายอุทิศ          บวรทัตเบญจา

ปลูกเสาวรส

3

กลุ่ม อสม.

1

นายมานะ         ภมรธารา

คัดกรองโรคเบื้องต้น

4

กลุ่มคณะกรรมการจัดการที่ดิน

1

นายอุทิศ          บวรทัตเบญจา

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

5

กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ

2

นางนงคราญ      อนุรักษ์เมตตา

ผ้าทอกะเหรี่ยง

6

กลุ่มเพาะเห็ดหอม

2

นายสมศักดิ์       สนั่นบุญอุดม

เพาะเห็ดหอม

7

กลุ่มปลูกเสาวรส

2

นางนงคราญ      อนุรักษ์เมตตา

ปลูกเสาวรส

8

กลุ่มปลูกกาแฟ

2

นายบุญศรี         ศรีมาลัยรัก

ปลูกกาแฟ

9

กลุ่มจักรสาน

2

นายปุเชอร์วงค์พนากุล

จักรสานกระด้ง,สานเสื่อ

10

กลุ่ม อสม.

2

นายสิทธิชัย       วงค์พนากุล

คัดกรองโรคเบื้องต้น

11

กลุ่มเลี้ยงสุกร

3

นางพุทธชาด      นันทกิจรุ่งโรจน์

เลี้ยงสุกร

12

กลุ่มเลี้ยงโค กระบือ

3

นายธีรศักดิ์        ศรีอำนวยโชค

เลี้ยงโค กระบือ

13

กลุ่ม อสม.

3

นางพุทธชาด      นันทกิจรุ่งโรจน์

คัดกรองโรคเบื้องต้น

14

กลุ่มทอผ้า

3

นางสุพิน           ชูวงศ์กิจรุ่งโรจน์

ผ้าทอกะเหรี่ยง

15

กลุ่มไร่ถั่วเหลือง

3

นางอทิตยา        จิรยุทธนา

คัดแยกเมล็ดพันธุ์และวิธีการปลูก

16

กลุ่มจัดการขยะ

3

นางพุทธชาตินันทกิจรุ่งโรจน์

การจัดการขยะ

17

กลุ่มการจัดการที่ดิน

3

นายธีรศักดิ์         ศรีอำนวยโชค

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

18

กลุ่ม อสม.

4

นางศรีจันทร์       สมคำดี

คัดกรองโรคเบื้องต้น

19

กลุ่มดนตรีพื้นเมือง

4

นายสุนันท์         ปันจันทร์

สอนดนตรีพื้นเมือง

20

กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์สามหมอก

4

นางชฎาพร        พรถนอมวงศ์

ผลิตปุ๋ยอินทรีย์

21

กลุ่มดอกไม้จันทร์

4

นางประนอม      ปินตา

ผลิตดอกไม้จันทร์

 22

กลุ่มสตรีแม่บ้าน

4

นางเทียนหอม     คนฉลาด

งานพัฒนาคุณภาพสตรี

 23

กลุ่ม อปพร.

4

นายประสิทธิ์      กันยิเกตุ

ช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน

24

กลุ่มจัดการที่ดิน

4

นายธงชัย          ปินตา

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

25

กลุ่ม อสม.

5

นางจินตวีร์        เจนวรนนท์

คัดกรองโรคเบื้องต้น

26

กลุ่มข้าวกล้อง

5

นางอรุณี           ผาติลาภสกุล

ผลิตข้าวกล้อง,ข้าวซ้อมมือ

27

กลุ่มราษฎรอาสาพิทักษ์ป่า

5

นายอำนาจ        ศรีสุข

ชุมชนบ้านแม่เตี๋ย

28

กลุ่มน้ำส้มควันไม้

5

นายครื้น           พร้อมไพรสุข

ประโยชน์การใช้น้ำส้มควันไม้

29

กลุ่มจุดการที่ดิน

5

นายอำนาจ        ศรีสุข

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

30

กลุ่มผู้สูงอายุ

5

นายธงชัย          ดวงประทีป

ออกกำลังกายผู้สูงอายุ

31

ป้องกันตนเอง

5

นายอำนาจ        ศรีสุข

ภายในหมู่บ้าน

32

กลุ่ม อปพร.

5

นายสุพจน์         พรชัยโรจน์

รักษาความสงบเรียบร้อย

33

กลุ่มทอผ้า

5

นางประพอ        มัลลิกา

ทอผ้ากะเหรี่ยง

34

กลุ่มแม่บ้าน

6

นางนิตยา          กันทรถาวร

มือช่วยกิจกรรมในหมู่บ้าน

35

กลุ่ม อสม.

6

นายสุรสิทธิ์        เพียรกิจจำรัส

คัดกรองโรคเบื้องต้น

36

กลุ่มปลูกกาแฟบ้านแม่กองแป

6

นายนิวัติ           วิไลสุขสกุล

ปลูกกาแฟ

37

กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง

6

นางนิตยา          กันทรถาวร

ทอผ้ากะเหรี่ยง

38

กลุ่มธนาคารข้าว

6

นายนิวัติ           วิไลสุขสกุล

จัดตั้งธนาคารข้าว

39

กลุ่มจัดการที่ดิน

6

นายนิวัติ           วิไลสุขสกุล

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

40

กลุ่มจัดการขยะ

6

นายนิวัติ           วิไลสุขสกุล

การจัดการขยะ

41

กลุ่มทอผ้า

7

นางศรีมา            นันทกุลพลพินิจ

ทอผ้ากะเหรี่ยง

42

กลุ่ม อสม.

7

นายดำรง            ประจักษ์นุกุล

คัดกรองโรคเบื้องต้น

43

กลุ่มทำการเกษตร

7

นายเอกพันธ์        เกียรติภูทอง

ทำเศรษฐกิจพอเพียง

44

กลุ่มจัดการที่ดิน

7

นายทองสุข          คุณคำจัน

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

45

กลุ่มแม่บ้าน

8

นางพัชรา            บุญชาติ

ช่วยกิจกรรมในหมู่บ้าน

46

กลุ่ม อสม.

8

นางพัชรา            บุญชาติ

คัดกรองโรคเบื้องต้น

47

กลุ่มจัดการที่ดิน

8

นายจีระศักดิ์         วงศ์คีรี

สำรวจที่ดินหมู่บ้าน

48

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

8

นายสุวรรณฑิตย์     สิทธิประภา

เกษตร

49

ศูนย์อินเตอร์เน็ตตำบล

8

นางสาวฐิติพร        ผ่องสกุล

ค้นคว้า ความรู้ด้านเทคโนโลยี

50

โรงน้ำดึ่ม

8

นายฤทธิชัย          ปันจันทร์

เป็นแหล่งผลิตน้ำ

7.2  ข้อมูลด้านการเกษตร

        โดยบริบทชาวตำบลท่าผาปุ้มซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอแม่ลาน้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นภูเขาสูงลาดชันปกคลุมด้วยป่าไม้ดังนั้นประชาชนซึ่งมีอาชีพการทำการเกษตรเพื่อการยังชีพเป็นส่วนใหญ่ จึงมีวิถีชีวิตที่ทำการเกษตรผสมผสานอยู่ร่วมกับป่าไม้ ส่วนการใช้พื้นที่ทำไร่ปลูกข้าวนั้น ก็มีวัฒนธรรมปลูกข้าวหมุนเวียนหลายแปลงบนพื้นที่ไหล่เขา เรียกว่าวัฒนธรรมการทำไร่ข้าวหมุนเวียน ของชาวปกากะญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งมีอยู่ใน๕ หมู่บ้านบนพื้นที่สูงโดยไม่ได้ยึดถือครอบครองเป็นแปลงเกษตรที่มีขอบเขตชัดเจนตายตัว และพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์นั้นก็ไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆยืนยันข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าผาปุ้มถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ป่า ว่าด้วยกฎหมายป่าไม้ และป่าสงวนแห่งชาติ

3ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกินน้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค)
ตารางการจัดหาน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภค

การจัดหาน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภค จำนวน ร้อยละ
๑. ไม่มี 100 11.55
๒. มีการจัดหาน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภค 766 88.45
รวม 866 100
การจัดหาน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภค ได้แก่
๑. การเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ 105 13.71
๒. การใช้น้ำประปา 611 79.77
๓. การใช้น้ำกรอง 52 6.79
๔. การซื้อน้ำสะอาด/น้ำกรอง 146 19.06
๕. การใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 360 47

จากตารางแสดง การจัดหาน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภค ของประชาชนตำบลท่าผาปุ้ม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ๓ อันดับแรก คือการใช้น้ำประปา จำนวน 611 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 79.77 รองลงมาคือการใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติ จำนวน  360 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 47 และ การซื้อน้ำสะอาด/น้ำกรอง จำนวน 146 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 19.06 สรุปผลได้ว่าประชาชนตำบลท่าผาปุ้มมีการจัดหาน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคและบริโภคจากการใช้น้ำประปามากที่สุด

 


 8.ศาสนาประเพณีวัฒนธรรม

การนับถือศาสนาจากการสำรวจประชากรที่นับถือศาสนาในพื้นที่ตำบลท่าผาปุ้ม จำนวน 3,203 คน

  • ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ มีจำนวน 1,531 คน คิดเป็นร้อยละ 80%

  • ประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์ มีจำนวน 1,672 คน คิดเป็นร้อยละ 20%

table26

2.ด้านสถาบันและองค์กรศาสนา

ลำดับที่

สถาบันศาสนา

สถานที่ตั้ง

1

วัดท่าผาปุ้ม

หมู่4 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ แม่ฮ่องสอน

2

วัดป่าใหม่พัฒนา

หมู่8 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

3

สำนักสงฆ์บ้านแม่เตี๋ย

หมู่5 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

4

สำนักสงฆ์บ้านแม่สะกึ๊ด

หมู่1 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

5

สำนักสงฆ์บ้านสามหมอก

หมู่2 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

6

สำนักสงฆ์พระธรรมจาริกบ้านแม่สะกั้วะ

หมู่6 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

7

โบสถ์คริสต์เตียนแม่เตี๋ย

หมู่5 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

8

โบสถ์แมทธิว

หมู่5 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

9

โบสถ์คริสต์บ้านห้วยหมากหนุน

หมู่3 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

10

โบสถ์คริสต์บ้านแม่กวางเหนือ

หมู่3 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

11

โบสถ์คริสต์บ้านห้วยผึ้ง

หมู่2 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

12

โบสถ์คริสต์บ้านกิ่ว

หมู่2 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

13

โบสถ์คริสต์บ้านแม่ปอถ่า

หมู่2 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

14

โบสถ์คริสต์บ้านแม่กวางใต้

หมู่1 ต .ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

รวม

14

8.2  ประเพณีและงานประจำปี

ประเพณีปอยส่างลองหรือประเพณีบรรพชาสามเณรตามประเพณีชาวไทยใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่ได้กุศลแรงกว่าการอุปสมบทพระภิกษุจึงจัดอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคมเด็กที่จะบรรพชาเรียกว่า “ส่างลอง”จะโกนผมแต่ไม่โกนคิ้วแล้วแต่งกายประดับประดาด้วยเครื่องประดับอันมีค่าเช่นสวมสร้อยกำไลแหวนและใช้ผ้าโพกศรีษะแบบพม่าสวมถุงเท้ายาวนุ่งโสร่งทาแป้งขาวเขียนคิ้วทาปากทั้งนี้พระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นกษัตริย์ยังละกิเลสได้การประดับประดาแสดงว่ามีฐานะดีก็ละกิเลสไปบวชได้เช่นกันถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคนซึ่งเรียกว่า“พี่เลี้ยง” หรือ “ตะแปส่างลอง” แห่ไปตามถนนสายต่างๆมีกลดทองหรือ“ทีคำ”แบบพม่ากันแดดปัจจุบันประเพณีนี้กำหนดให้เป็นการบรรพชาแบบสามัคคีคือจัดการบรรพชาส่างลองจำนวนมากในคราวเดียวกันในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปีทำให้ประเพณีส่างลองในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว

ประเพณีลอยกระทงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนยี่หรือทางภาคเหนือเรียกว่า “ยี่เป็ง” โดยประชาชนจะทำกระทงเล็กๆไปลอยตามแม่น้ำมีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคำมีมหรสพรื่นเริงตามบ้านเรือนจะจุดโคมไฟสว่างไสว

ประเพณีการถวายข้าวยาคูภาษาไทยใหญ่เรียกว่า “การตานข้าวหย่ากู้” ทางวัดจะบอกบุญให้ชาวบ้านนำข้าวใส่นมเนยน้ำผึ้งทำเป็นก้อนๆ เพื่อถวายพระประธานตั้งแต่ย่ำรุ่งมักทำกันในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

                  8.3  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ประชากรส่วนใหญ่ชาวปกากะญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง พูดภาษาปกากะญอ และชนเผ่าพื้นเมืองพูดภาษาไทยล้านนาตะวันตกซึ่งมีภาษาและประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ชาวตำบลท่าผาปุ้มมีวิถีชีวิตพึ่งพิงธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า เป็นแหล่งที่มาของปัจจัย ๔ ในการดำรงวิถีชีวิตมีระเบียบกฏิกาชุมชนที่มาจากจารีตประเพณี ในการจัดการปัญหาชุมชนภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาเกี่ยวกับการรักษาดิน น้ำ ป่า การปฏิบัติตามแนวทางของบรรพบุรุษที่ได้ถ่ายทอดกันมา เช่น การทำไร่ข้าวหมุนเวียน,การทำนาขั้นบันไดการกำหนดประเภทป่า ที่ชัดเจนโดยแบ่งตามประเภทของการใช้ประโยชน์ของป่า ได้แก่ ป่าต้นน้ำ ป่าอนุรักษ์ ป่าใช้สอย และป่าชุมชนมีการสืบทอดและรักษาแนวคิดความเชื่อ เกี่ยวกับการนับถือผี การมีผู้นำด้านความคิดเช่น เจ้าเมืองการกำหนดวันทำพิธีกรรมทางด้านการเพาะปลูก มีปฏิทินการเพาะปลูกที่ชัดเจนในแต่ละปี ได้แก่พิธีเลี้ยงต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ,พิธีมัดมือ และจารีตประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาดิน น้ำ ป่า และถือเป็นแนวปฏิบัติในวิถีชีวิตของคนในชุมชนซึ่งส่งผลให้คนทุกวัยได้เข้าใจแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เป็นไปตาม จารีตประเพณี และแนวปฏิบัติที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ รวมทั้งการรักษากฎกติกา ข้อตกลงของหมู่บ้าน ระเบียบข้อตกลง ของหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับการรักษาดิน น้ำ ป่า อย่างยั่งยืนดังสุภาษิตที่ว่า “กินน้ำต้องรักษาน้ำ อยู่กับป่าต้องรักษา”

  1. ทรัพยากรธรรมชาติ

          ด้วยภูมิประเทศของตำบลท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอนที่มีความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง ประมาณตั้งแต่ 300 – 1,000 เมตร ประเภทของป่าไม้ที่พบในพื้นที่ จึงมีทั้งป่าชนิดไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา และ ป่าสน บ้านห้วยผึ้งหมู่ที่2 บ้านแม่กวางใต้ หมู่ที่ 1 และบ้านแม่กวางเหนือ หมู่ที่  7 และป่าชนิดผลัดใบ ได้แก่ ป่าผสมเบญจพรรณ และป่าเต็ง-รัง นอกจากนี้ยังพบป่าไร่ร้างและป่าไร่เลื่อน ลอย พืชพันธุ์ไม้ในป่าส่วนใหญ่เป็นไม้มีค่า เช่น ไม้สัก ไม้เต็งรัง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัง ไม้มะค่าโมง ไม้รกฟ้า ไม้ ยมหอม ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหนู ไม้เต็ง ไม้รัง ยางเหียง ไม้พลวง ไม้ตะแบก ฯลฯ

พืชพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ ไม้ไผ่ ผักหวานป่า ต้นคราม ผักกูด ผักกูดดอย ผักพ่อค้า ดอกอาว (กระเจียว) สาบแล แคป่า เพกา ปู่ย่า ผักแว่น ผักหนาม ผักเฮือด ผ่า เพียฟาน ฟักข้าว มันปลา (มันปู) เตา (สาหร่ายน้ำจืด) อ่องลอด (ดอกหิน) สมอไทย มะขามป้อม พืชพันธุ์ไม้เฉพาะ มีผักส้มปี้ (หัวแหวน) ผักหนามโค้ง (หมากลม) ดอกดิน เป็นต้น